แรกเกิด - ๑๓ ปี๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ เกิดในเรือกระแชง ตำบลแควใหญ่ ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ในครอบครัวพ่อค้าจีน มีพี่สาว ๑ คน ต่อมาเตี่ยถูกจับคดีใช้แบงก์ปลอม แม่ตรอมใจจนเสียชีวิต
๒๔๗๑ เข้ากรุงเทพฯ มาพำนักกับหลวงพี่ที่วัดตรีทศเทพ เข้าเรียนชั้น ป.๑ โรงเรียนดำเนินศึกษา และย้ายไปเรียนชั้น ป.๓ โรงเรียนพญาไทวิทยาคาร
๒๔๗๔ น้าสาวมารับกลับไปปากน้ำโพ เข้าเรียนชั้น ม.๑ โรงเรียนประจำมลฑลนครสวรรค์ ต่อมาน้าสาวเสียชีวิต เลยต้องไปอาศัยอยู่กับครอบครัวพ่อค้าจีนในตลาดปากน้ำโพ แต่ต้องทำงานหนักจึงตัดสินใจออกจากบ้านนาย ทำให้ต้องเลิกเรียนกลางคัน (ไม่จบชั้น ม.๓)
๑๗ กุมพาพันธ์. ๒๔๗๖ บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดตลิ่งชัน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ร่วมคณะจาริกพระโลกนาถเดินทางไปประเทศพม่าและอินเดีย มีคหปตานีภรรยาผู้บังคับการตำรวจมณฑลอุดรธานี เป็นโยมอุปัฏฐาก
ช่วงอายุ ๑๓ - ๒๖ ปี
๒๔ มีนาคม ๒๔๗๖ เริ่มเดินทางออกจากนครสวรรค์ ไปทางตาก - แม่สอด เข้าประเทศพม่าทางหงสาวดี ที่นี่คณะเดินทางเกิดแตกแยก เหลือที่จะไปต่อราว ๑๐ รูป ซึ่งต้องจำพรรษาในย่างกุ้ง หลังออกพรรษา โดยสารเรือจากย่างกุ้งไปกัลกัตตาแล้วต่อต่อรถไฟไปนครราชคฤห์ ระหว่างรอพระโลกนาถไปรับพระเณรจากลังกามาสมทบได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง คือ ลุมพินี พุทธคยา สารนาถ และกุสินารา
ปลายปี ๒๔๗๗ ผู้ร่วมคณะต้องล้มป่วยลง กอปรกับพระโลกนาถยังไม่กลับมา ทั้งหมดจึงตัดสินใจกลับเมืองไทย แต่สามเณรกรุณาต้องพักรักษาตัวอีกระยะ และขออยู่ในอุปการะของสมาคมมหาโพธิ ตำบลสารนาถ เมืองพาราณาสีตั้งแต่นั้นมา ทำให้ได้เรียนภาษาฮินดี อังกฤษ บาลี สันสกฤต และภาษาฮินดีได้เป็นที่ ๑ ของประเทศอินเดีย (สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาฮินดีตั้งแต่เกิด) ระหว่างนี้เริ่มเขียนข่าวและบทความมาลง ธรรมจักษุ พุทธศาสนา ประชาชาติ ในประเทศไทย
ปี ๒๔๘๑ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จประพาสดินเดีย สามเณรกรุณาได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนจากพระองค์ด้วย
ปลายปี ๒๔๘๒ ย้ายไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิศวภารติ ศานตินิเกตัน และได้เป็นเลขานุการส่วนตัว ศาสตราจารย์ตัน หยุน- ฉาน ผู้อำนวนการคณะจีนศึกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ ถูกจับกุมขังตัวตามกฎหมายระหว่างประเทศ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตัดสินใจลาสิกขาบท ณ ค่ายกักกันที่ป้อมปราการปุราณา นครนิวเดลฮี เมื่อเมษายน ปี ๒๔๘๕ จากนั้นได้พบรักกับ โยโกะ โมริโมโตะ เชลยสาวชาวญี่ปุ่นในค่ายเดียวกัน (แต่ต้องพลัดพรากกันหลังสงครามสงบ) ต่อมารัฐบาลอินเดียย้ายเชลยทั้งหมดไปอยู่ค่ายเทวลี ที่นี่ได้พบพระโลกนาถซึ่งถูกจับเป็นเชลยเช่นกัน
ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลังสงครามสงบราว ๙ เดือน ได้รับการปล่อยตัวออกจากค่ายเทวลีให้กลับถิ่นฐานเดิม โดยรถไฟขบวนพิเศษมาส่งลงเรือที่นครบอมเบย์ แต่ต้องมาตกค้างอยู่ในค่ายจูรอง สิงคโปร์ อีกพักใหญ่ ก่อนหาหนทางกลับเมืองไทยจนได้ขึ้นบกที่ท่าน้ำราชวงศ์ - ทรงวาด เมื่อ ๔ สิงหาคม ๒๔๘๙ รวมเวลาอยู่ในประเทศอินเดียราว ๑๒ ปี
ช่วงอายุ ๒๖ - ๓๘ ปี
๒ ตุลาคม ๒๔๘๙ สอนภาษาสันสกฤต อินเดีย และไทย ที่อาศรมวัฒนธรรมไทย - ภารต จากนั้นได้เป็นล่าม พนังงานแปล และเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ในสถานกงสุลอินเดีย (ภายหลังเป็นสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย) ในปีถัดมา ระหว่างสอนภาษาที่อาศรมฯ ได้รู้จักกับเรืองอุไร หิญชีระนันทน์ คู่ชีวิตใสเวลาต่อมา (จดทะเบียนสมรส ณ อ.บางกอกน้อย เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๔๙๒) ทั้งนี้ได้ร่วมกันแปลคัมภีร์พุทธจริต ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ๒๔๙๓ และแปลหนังสืออื่นๆ ต่อๆ มาอีกหลายเล่ม
กรกฎาคม ๒๔๙๓ ตามหาพี่สามพบที่บ้านพักข้าราชการสรรพสามิต อ.หนองแค จ.สระบุรี
หลังจากกัน ๑๖ ปี
ปี ๒๔๙๔ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเชิญแสดงปาฐกถาต่อมาได้รับเลือกเป็นกรรมการวิเทศสัมพันธ์ของพุทธสมาคม จากนั้นพระพิมลธรรม อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เชิญไปสอนหนังสือที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๕ ได้ลูกสาวคนแรก ในปีถัดมามีโอกาสได้เข้าร่วมฉัฏฐสังคายนา (การชำระสะสางพระไตรปิฎกครั้งที่ ๖) ณ ประเทศพม่า ซึ่งจัดขึ้นโดยอูนู นายกรัฐมนตรีพม่า จากนั้นได้พาคณะพระพิมลธรรมไปนมัสการสังเวชนียสถานในอินเดียและศึกษาพระศาสนาในเกาะศรีลังการาว ๓ สัปดาห์ (๖ มิถุนายน - ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๖)
๒๔๙๖ - ๙๗ เป็นผู้แปลสุนทรพจน์ของหัวหน้าคณะองค์กรฟื้นฟูศีลธรรม M.K.A. ครั้งมาเยือนไทย ในการณ์นี้ได้รู้จักผู้ใหญ่หลายท่าน และได้รู้จักกับคุณสังข์ พัธโนทัย คนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
กุมภาพันธ์ - เมษายน ๒๔๙๗ พาคณะพระครูศรีธรรมคุณ แห่งวันเวฬุราชิน ตลาดพลู ไปนมัสการพุทธสถานในอินเดียและเนปาล โดยมี สังข์ พัธโนทัย ร่วมคณะไปด้วย ทำให้สนิทสนมกันมากขึ้น และเป็นเหตุให้รู้จัก อารี ภิรมย์ ในเวลาต่อมา ในปลายปีนี้ได้พาคณะธรรมยาตราไปทัศนศึกษาที่อินเดีย และในปีเดียวกันนี้ ได้ร่วมต้อนรับบัณฑิตยวาหระลาล เนห์รู ขณะแวะเยือนไทยระหว่างเดินทางไปอินโดนีเซีย
ปี ๒๔๙๘ เป็น ๑ ใน ๔ คณะทูตใต้ดินไปผูกไมตรีกับประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตง และนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี ๒๔๙๙ กระทรวงวัฒนธรรมขอยืมตัวให้ร่วมคณะไปถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง องคุลีมาล ที่นครบอมเบย์ ราว ๒ เดือน
๑๖ ตุลาคม ๒๔๙๙ ลาออกจากสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ไปเป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศที่หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ
กุมภาพันธ์ ปี ๒๕๐๐ เป็นเลขานุการคณะพ่อค้าข้าวไทยไปเจรจาตกลงขายข้าวให้แก่ประเทศจีน
๑๖ สิงหาคม ๒๕๐๐ ได้บุตรชายคนที่ ๒
ต้นปี ๒๕๐๑ แปลปาฐกถาของ Dr.Ernst Bnez ผู้เชี่ยวชาญศาสนาวิทยาชาวเยอรมัน ที่วัดมหาธาตุฯ ส่งผลให้เอกอัครราชทูตเยอรมนีซึ่งอยู่ในที่นั้น เชิญไปเยือนเยอรมันตะวันตกเป็นเวลา ๔ สัปดาห์ (๘ ก.ค. - ๖ ส.ค. ๒๕๐๑) เมื่อครบกำหนดจึงได้ท่องเที่ยวยุโรปต่ออีก ๖ ประเทศ รวมทั้งประเทศกรีซ ซึ่งทำให้มีโอกาสสัมภาษณ์สังฆราช Makarios ผู้นำชาวไซปรัสต่อสู้อังกฤษ (ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐไซปรัส) ลงหนังสือพิมพ์เสถียรภาพ
ช่วงอายุ ๗๘ - ๔๖ ปี
๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ถนอม กิตติขจร
ส่งผลให้ในวันรุ่งขึ้นสันติบาลล้อมบ้านและคุมตัวไปไว้กองปราบปทุมวันในข้อหาคอมมิวนิสต์ ถูกขังอยู่ที่นี่ราวสามเดือนครึ่ง ก่อนถูกย้ายไปคุมขังที่กองปราบสามยอดเพราะห้องขังแน่นมาก แต่อยู่ได้เพียง ๒๐ วัน ก็ทนสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะไม่ไหว จึงยื่นคำร้องขอกลับมาที่กองปราบปทุมวันในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นราวหนึ่งปี ถูกย้ายไปเรือนจำการเมืองชั่งคราว ลาดยาว ซึ่งเป็นที่ให้กำเนิดหนังสือแปลกว่า ๑๐ เล่ม ในเวลาต่อมา
๕ ตุลาคม ๒๕๐๕ หลังจากถูกจำคุกแช่เย็นราว ๔ ปีเศษ จึงเริ่มมีการฟ้องร้องตามกระบวนการยุติธรรม แต่เป็นไปอย่างล่าช้า ต่อเมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมในปี ๒๕๐๖ คดีจึงผ่อนคลายได้เร็วขึ้น
๑๙ เมษายน ๒๕๐๙ ขอประกันตัวออกมาพักที่บ้านเพื่อรักษาอาการป่วยจากโรคเครียด ต่อมาได้ทราบข่าวพระโลกนาถมรณภาพด้วยโรคมะเร็งที่เมืองแม่เมียว ประเทศพม่า เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ จากนั้นได้ทราบข่าวว่า ศรี เทวปริยะ วาลิสิงหะ เลขาธิการสมาคมมหาโพธิ ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๑๑
๒๔ มิถุนายน ๑๕๑๒ ได้รับการถอนฟ้องหลังจากถูกคุมขังนานราว ๘ ปี จากนั้นได้ร่วมทำงานกับคณะหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “กรุงเทพฯ วิจารณ์”
ช่วงอายุ ๔๙ - ๖๕ ปี
๑ ตุลาคม ๒๕๑๒ ทราบข่าวพระยาอนุมานราชธนถึงแก่กรรม หลังจากนั้นราว ๓ เดือน ทราบข่าวอีกว่า บัณฑิตรฆุนาถ ศรมา ผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรมไทย - ภารต ถึงแก่กรรม
กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ เป็นมัคคุเทศก์พาคณะ ส.ส. พิษณุโลก ไปถ่ายทำภาพยนตร์เกี่ยวกับสังเวชนียสถานที่อินเดียประมาน ๑ เดือน
๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ บรรยายเรื่อย “ภิกขุโลกนาถที่ข้าพเจ้ารู้จัก” ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ต่อมามูลนิธิ Friedrich - Naumann - Stiftung เชิญไปดูกิจการสื่อสารมวลชนและเลือกตั้ง ส.ส. ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน - ๒ ธันวาคม ๒๕๑๕
ปลายปี ๑๕๑๖ บรรยายพิเศษ “ความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ในวรรณคดีตะวันออก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานของ รพินทรนาถ ฐากุร “แก่คณะสังคมและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับเชิญสอนภาษาอังกฤษให้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี ๒๕๑๖ - ๑๘
๒๔ มีนาคม - ๑๑ เมษายน ๒๕๑๘ เป็นผู้อำนวยการการประชุมอาศรมแปซิฟิก ที่วัดเชิงดอยผาลาด เชียงใหม่ ต่อมาได้เดินทางร่วมกับอารี ภิรมย์ ไปฮ่องกงเพื่อหาลู่ทางเจรจาค้าขายกับประเทศจีนในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
๒๕๒๑ - ๒๕๒๓ สอนวิชาแปลข่าวหนังสือพิมพ์ ที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๒๒ สมาคมมิตรสัมพันธ์ต่างประเทศของประเทศจีน เชิญไปเยือนจีน ๓ สัปดาห์ ต่อมาสภาวัฒนธรรมสัมพันธ์ของประเทศอินเดีย เชิญไปทัศนศึกษา ๑๐ วัน (๒ - ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๒)
กันยายน ๒๕๒๓ เกษียณอายุตัวเอง โดยลาออกจากงานหนังสือพิมพ์ตามภรรยาที่เกษียณอายุราชการ เพื่อใช้เวลาท่องเที่ยวร่วมกันทั้งในและต่างประเทศ ในวาระที่ทั้งคู่มีอายุครบ ๖๐ ปีนี้ ได้จัดพิมพ์คัมภีร์พุทธจริต เป็นครั้งที่ ๒ ด้วย
ปี ๒๕๒๔ เดินทางร่วมกับภรรยาไปนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดีย และร่วมเดินทางกับคณะของคุรุสภาไปทัศนาจรอเมริกา ปีถัดมาได้ไปทัศนาจรที่เกาะศรีลังกากับคณะธัมมาพาเที่ยวในเดือนพฤษภาคม จากนั้น ๓ เดือน ได้ไปเที่ยวรุสเซียกับบริษัท เถกิงทัวร์
๑๑ กันยายน ๒๕๒๕ รับรางวัลดีเด่นประจำปี ๒๕๒๔ ในการผลิตผลงานเพื่อเยาวชน ประเภทหนังสือแปล เรื่อง “ชีวประวัติของข้าพเจ้า” โดย มหาตมา คานธี จากคณะส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
ตุลาคม - พฤศจิกายน ๒๕๒๖ ร่วมการประชุมภาษาฮินดีสากล ครั้งที่ ๓ ที่นครนิวเดลี และท่องเที่ยวต่อในภาคเหนือของอินเดียประมาณ ๑ เดือน
พฤษภาคม ๒๕๒๗ ไปเนปาล และได้เริ่มต้นเขียนบันทึก “ชีวิตที่เลือกไม่ได้” ในรูปแบบของจดหมายถึงลูกจำนวน ๓๓ ฉบับ โดยหวังให้ผู้อื่นได้อ่านเล่นๆ และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชีวิตตัวเอง
ช่วงอายุ ๖๕ ปี - ปัจจุบัน
ปี ๒๕๓๐ หนังสือ “ชีวิตที่เลือกไม่ได้” ได้รับรางวัลชมเชยประเภทสารคดี ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ปี ๒๕๓๒ รับมอบเข็มและใบประกาศเกียรติคุณจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะที่ “ได้เป็นกำลังหนุนสำคัญในการช่วยพัฒนาการบริการและวิชาการให้เจริญก้าวหน้าและมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น”
ปี ๒๕๓๘ รับรางวัล “ศรีบูรพา”
ปี ๒๕๓๙ รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากศูนย์ส่งเสริมพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ในฐานะได้ทำคุณประโยชน์ต่อพุทธศาสนาในด้านการแต่งหนังสือ
ปี ๒๕๔๐ ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (แปล สารคดี ความเรียง) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ปี ๒๕๔๑ รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาไทย) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยบูรพา
ปี ๒๕๔๒ รับเกียรติบัตรจากโรงเรียนนครสวรรค์ ในฐานะ “ศิษย์เก่าที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและช่วยเหลือโรงเรียนนครสวรรค์”
ปี ๒๕๔๔ รางวัลนราธิปจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

เป็นนักเขียนบทความและสารคดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และวัฒนธรรมอินเดีย ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2538 รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2544 และ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2546 ผลงานที่มีชื่อเสียง คือ ผลงานแปลกวีนิพนธ์ "คีตาญชลี" ของรพินทรนาถ ฐากูร และอัตชีวประวัติ ชื่อเรื่อง "ชีวิตที่เลือกไม่ได้"
กรุณา กุศลาสัย เดิมชื่อ นายกิมฮง แซ่โค้ว เกิดในเรือกระแชง หน้าวัดตะแบก ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ บิดามารดามีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว มีอาชีพค้าขายทางเรือ แต่เสียชีวิตเมื่อกรุณายังเด็ก จึงเติบมาโดยการเลี้ยงดูของน้าสาว เมื่อน้าสาวเสียชีวิต...
------------------------------ อ่านเพิ่มเติม ------------------------------
Find the best web hosting service and read ipage review for more information.
เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์